โครงการ/กิจกรรม

ประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 และนานาชาติ ครั้งที่ 14 ด้านศิลปะและวัฒนธรรม

ประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 และนานาชาติ ครั้งที่ 14 ด้านศิลปะและวัฒนธรรม

จันทร์ 24 มิถุนายน 2567 79


มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี โดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ร่วมกับ เครือข่ายศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 และนานาชาติ ครั้งที่ 14 ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ภายใต้หัวข้อ “พลังศิลปวัฒนธรรมสรรค์สร้างเศรษฐกิจ” (the 4th  National and the 14th International Conference on Arts and Culture: Soft Power- Arts and Culture in Creative Economy)

โดยได้รับเกียรติจาก คุณเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธีเปิด และกล่าวแสดงปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ“บทบาทของ อว. กับการขับเคลื่อน Soft Power

กิจกรรมในครั้งนี้จัดขึ้นจำนวน 2 วันระหว่างวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567

มีรูปแบบกิจกรรมคือ การลงนามในบันทึกความร่วมมือ (MOU) ร่วมกันจำนวน 15 หน่วยงาน

- การจัดเวทีเสวนา  เรื่อง บทบาทสถาบันอุดมศึกษาในการส่งเสริม Soft Power สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ วิทยากรโดย ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่างๆ ที่มีชื่อเสียงและประสบการณ์ที่ได้ให้เกียรติมาร่วมเสวนา

- การนำเสนอผลงานทางวิชาการ โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรมธรรม ได้สนับสนุนผลงานนำเสนอ 2 เรื่อง ได้แก่ การพัฒนาสื่อวิดีทัศน์เพื่อการสืบสานประเพณีสงกรานต์ของชาวไทพวน ตำบลบ้านหลุมข้าว อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ผลงานของอาจารย์ ดร.ดวงพร ไม้ประเสริฐ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และ แนวทางใหม่สำหรับการวิเคราะห์พระพุทธรูปปางมารวิชัยในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี โดยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ผลงานของอาจารย์ ดร.ธนพัฒน์ พงษ์ศักดิ์และอาจารย์ณภัทรษกร สารพัฒน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ในวันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

- การจัดนิทรรศการภูมิปัญญาท้องถิ่นของดีบ้านฉัน เพื่อแสดงวิถีวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรมธรรม ได้นำเรื่อง ประเพณีบุญผ้าป่าข้าวเม่าทอด เพื่อนำเสนอประเพณีท้องถิ่นของชาวลาวเวียงตำบลป่าตาล อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ที่ยังคงมีการธำรงอัตลักษณ์ทางสังคมวัฒนธรรมของตนเองไว้อย่างเข้มแข็ง โดยมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดของวิถีการดำเนินชีวิตและประยุกต์วัฒนธรรมบางอย่างเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับยุคสมัยและเผยแพร่ให้ประเพณีเป็นที่รู้จักสืบไป

และการจัดเวทีแลกเปลี่ยนการแสดงด้านศิลปวัฒนธรรม ในวันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรมธรรม ได้นำเสนอการแสดงที่มีชื่อว่า โฮแซวโคกเจริญ กล่าวถึงประเพณี บุญบั้งไฟบุญเดือนหก ของชาวชุมชนที่มีพื้นเพเดิมมาจากแถบอีสานที่อาศัยอยู่ที่อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรีขอฝนให้ตก  ทั่วทุกหมู่บ้านชาวอีสาน เฮาย้ายถิ่นฐานมาอยู่ตรงนี้ บุญบ้างไฟหนึ่งในภาคกลางต้องมาที่นี่ บั้งไฟสีสันเอ้แต่งงาม ซ่อยค้ำสืบมา ผลงานการแสดงชุดนี้เป็นผลงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิทยาลัยนาฎศิลป์ลพบุรี ที่ได้สร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ขึ้นมา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จึงได้นำผลงานชิ้นนี้มีฝึกซ้อมให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี เพื่อนำมาเผยแพร่ให้ผู้ชมทุกท่านได้ทราบว่าภาคกลางของเราก็มีประเพณีบุญบั้งไฟหนึ่งเดียวในภาคกลางและอยู่ในอำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี เพื่อถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ หรือ 72 ชนมพรรษา ของพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

การจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1) เพื่อเป็นเวทีระดับชาติและนานาชาติในการนำเสนอผลงานทางวิชาการ บทความวิชาการ บทความวิจัย และผลงานสร้างสรรค์ด้านศิลปวัฒนธรรมของนักวิชาการทุกกลุ่ม

2) เพื่อเปิดโอกาสให้มีการพบปะแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการ ผลการวิจัย ผลงานสร้างสรรค์ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของชาติ และภูมิปัญญาของท้องถิ่นสู่การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์

3) เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือและความสัมพันธ์โดยมีการลงนามในบันทึกความร่วมมือ (MOU)

4) เพื่อส่งเสริมงานในมิติการพัฒนาศิลปวัฒนธรรม และ Soft Power ของไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมใหม่ๆ สู่งานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจและสังคม

สำหรับเครือข่ายที่ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงและร่วมเป็นเจ้าภาพการจัดงานครั้งนี้ มีจำนวน ๑๕ หน่วยงานประกอบด้วย

1. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม

2. สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม

3. กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

4. สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา

5. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

6. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

7. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

8. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

9. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี

10.มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

11.  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

12.  มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

13.  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

14. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

และ 15.     มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ซึ่งเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดงานครั้งนี้

สำหรับผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย  คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนิสิตหรือนักศึกษาในเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยและสถาบันการศึกษาอื่นๆ ทั้งในระดับชาติและ


สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
โครงการ/กิจกรรม อื่นๆ