เบอร์โทรศัพท์
นโยบายการดำเนินงาน
เพื่อให้การดำเนินงานของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สำนักฯ ได้กำหนดนโยบายต่างๆ ที่ให้สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยฯ ดังนี้
1. นโยบายด้านการบริหาร
1.1 การทำงานโดยเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
1.2 การทำงานอย่างมีระบบ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการวางแผน ปฏิบัติตามแผน ตรวจสอบ/ประเมิน และนำผลการประเมินไปแก้ไขทำให้เป็นประจำ
1.3 บริหารงานโดยใช้หลักธรรมภิบาล
1.4 การทำงานด้วยความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้
2. นโยบายด้านการประกันคุณภาพ
2.1. กำหนดให้มีการจัดระบบการประกันคุณภาพ
2.2 กำหนดให้ส่วนงานในสำนักฯ มีระบบการปฏิบัติงานที่เป็นระบบ สามารถตรวจสอบได้ตามกลไกการประกันคุณภาพ
2.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทุกส่วนงาน มีความรู้เกี่ยวกับความสำคัญและความจำเป็นในการประกันคุณภาพ และประเมินคุณภาพจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยฯ
3. นโยบายด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
3.1 พัฒนาแหล่งความรู้และแหล่งข้อมูลทางด้านศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น
3.2 นำศิลปวัฒนธรรมเป็นสื่อในการพัฒนานักศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรมและภาคภูมิใจในความเป็นไทย
3.3 จัดเวทีการแสดงทางด้านศิลปวัฒนธรรมเพื่อสร้างสุนทรีและการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปวัฒนธรรม
3.4 ศึกษา ค้นคว้า วิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตของท้องถิ่น
3.5 อนุรักษ์ ส่งเสริม สืบสานศิลปวัฒนธรรมโดยบูรณาการกับการเรียนการสอนและ การบริการวิชาการ
4. นโยบายด้านการเงินและงบประมาณ
4.1 จัดระบบและกลไกและระยะเวลาในการรายงานผลการดำเนินงานในทุก ๆ ด้านโดยเฉพาะด้านการเงินและรายงานตามลำดับขั้น จนถึงผู้บริหารสูงสุด
4.2 วิเคราะห์ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และนำผลการวิเคราะห์ไปปรับปรุงการตัดสินใจในครั้งต่อไป
4.3 จัดทำฐานข้อมูลให้เป็นระบบและเปิดเผยต่อสาธารณชนได้ถึงความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้โดยบุคคลภายนอก
5. นโยบายด้านการจัดทำฐานข้อมูล
5.1 ออกแบบและพัฒนาสารสนเทศ พัฒนาเว็บไซต์ของสำนักฯ พัฒนาระบบการจัดการฐานข้อมูล พัฒนาระบบสารสนเทศออนไลน์ เพื่อใช้ประโยชน์เป็นระบบสารสนเทศเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานและตรงกับ ความต้องการ
5.2 สร้างระบบฐานข้อมูลร่วมมือกับองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบสารสนเทศในรูปแบบเครือข่าย เพื่อพัฒนาบริการใหม่ๆ และเพื่อให้ข้อมูลที่ทันสมัย เชื่อถือได้และปรับปรุงได้
5.3 แสวงหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของระบบสารสนเทศที่มีอยู่หรือนำมาจัดทำระบบสารสนเทศอื่นๆ ให้องค์กรมีความทันสมัย และสามารถนำเสนอข้อมูลได้ครบทุกด้าน
6. นโยบายด้านการบริหารการใช้ทรัพยากร
6.1 สำรวจทรัพยากรของสำนักฯ ในทุกๆ ด้าน เช่น ด้านบุคลากร สถานที่ เทคโนโลยีและอุปกรณ์ต่างๆ
6.2 วิเคราะห์ความต้องการใช้ทรัพยากรของหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยฯ
6.3 วิเคราะห์ความประหยัดงบประมาณที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยฯ
6.4 จัดทำแผนการใช้ทรัพยากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยฯ
6.5 ทบทวน ปรับปรุง แผนการใช้ทรัพยากรอย่างต่อเนื่อง
7. นโยบายด้านการบริหารความเสี่ยง
7.1 ให้มีระบบและกระบวนการบริหารความเสี่ยง โดยมีเอกสารแสดงแนวทางและระบุปัจจัยความเสี่ยงบุคลากรทราบ
7.2 การบริหารความเสี่ยงจะต้องครอบคลุมงานในสำนักศิลปะและวัฒนธรรมทั้งที่มีสาเหตุจากปัจจัยภายในและภายนอก เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
7.3 ให้ทุกหน่วยงานในสำนักศิลปะและวัฒนธรรม รวมทั้งผู้บริหารทุกระดับ เข้าใจและให้ความสำคัญกับการบ่งชี้และการควบคุมความเสี่ยง มีวิธีการและแนวทางการปฏิบัติที่เป็นแนวทางเดียวกันในการระบุ ประเมินและจัดการความเสี่ยง
7.4 ให้มีการกำหนดกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่เป็นระบบมาตรฐานเดียวกันทั้งองค์กร
7.5 ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการจัดการที่ดี
7.6 ให้นำระบบบริหารความเสี่ยงไปปฏิบัติเป็นส่วนหนึ่งของงาน จนเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร และเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานตามปกติ
7.7 ให้มีการติดตามและประเมินผลการบริหารความเสี่ยง มีการทบทวนและปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ
8. นโยบายด้านการบริการวิชาการแก่สังคม
8.1 ส่งเสริมการให้บริการวิชาการ แก่นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ด้านการฝึกอบรมเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่น
8.2 ให้บริการความรู้ ในการจัดกิจกรรมและนิทรรศการ เพื่อฟื้นฟูสืบสานและส่งเสริมประเพณีศิลปวัฒนธรรม
8.3 สนับสนุนการจัดกิจกรรม การให้บริการวิชาการ การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และสร้างเครือข่ายด้านประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
9. นโยบายด้านสวัสดิการ
9.1 จัดหาผ้าทอพื้นเมืองและเสื้อโลโก้สำนักฯให้แก่บุคคลากรอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
9.2 เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้แก่บุคคลากรโดยพาไปศึกษาดูงานนอกสถานที่อย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง
9.3 มีการพบปะสังสรรค์ระหว่างบุคลากรในสำนักฯและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี และการทำงานเป็นทีมอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
9.4 สร้างสภาพแวดล้อมเพื่อให้มีบรรยากาศในการทำงานโดยจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก ในการทำงานอย่างครบถ้วน
9.5 จัดสวัสดิการอื่นๆ ตามสมควร เช่น จัดหาน้ำดื่มสมุนไพร
ประเด็นยุทธศาสตร์
เพื่อให้การดำเนินงานของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมมีทิศทางที่ชัดเจนและสอดคล้องกับนโยบาย ของสำนักฯ และของมหาวิทยาลัยฯ จึงได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ดังนี้
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1. การพัฒนาท้องถิ่น
เป้าประสงค์ 4. สร้างความเข้มแข็งและเพิ่มมูลค่าของทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
กลยุทธ์ที่ 0102 บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมแห่งการเรียนรู้
ตัวชี้วัด 6. จำนวนผลิตภัณฑ์ชุมชนจากฐานวัฒนธรรม/ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการพัฒนา
มาตรการ 1. จัดกิจกรรมส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมชาติ ศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น
กิจกรรม/โครงการ
1. โครงการสืบสานประเพณีลอยกระทง
2. โครงการเทพสตรีรวมใจเทิดทูนสถาบันกษัตริย์
3. โครงการถวายเทียนพรรษา
เป้าประสงค์ 4. สร้างความเข้มแข็งและเพิ่มมูลค่าของทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
กลยุทธ์ที่ 0102 บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมแห่งการเรียนรู้
ตัวชี้วัด 6. จำนวนผลิตภัณฑ์ชุมชนจากฐานวัฒนธรรม/ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการพัฒนา
มาตรการ 2. จัดกิจกรรมส่งเสริมการบูรณาการ สัมมนาวิชาการ ส่งเสริมการเรียนการสอนและการวิจัย
กิจกรรม/โครงการ
1. โครงการบูรณาการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน/การวิจัย/การบริการ วิชาการ
2. โครงการเสวนาวิชาการด้านศิลปะและวัฒนธรรม
เป้าประสงค์ 4. สร้างความเข้มแข็งและเพิ่มมูลค่าของทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
กลยุทธ์ที่ 0102 บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมแห่งการเรียนรู้
ตัวชี้วัด 6. จำนวนผลิตภัณฑ์ชุมชนจากฐานวัฒนธรรม/ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการพัฒนา
มาตรการ 3 จัดโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สารสนเทศ
กิจกรรม/โครงการ
1. โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่น
2. โครงการจัดทำฐานข้อมูลประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
3. โครงการพัฒนาวารสาร สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่
เป้าประสงค์ 4. สร้างความเข้มแข็งและเพิ่มมูลค่าของทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
กลยุทธ์ที่ 0102 บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมแห่งการเรียนรู้
ตัวชี้วัด 6. จำนวนผลิตภัณฑ์ชุมชนจากฐานวัฒนธรรม/ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการพัฒนา
มาตรการ 1. จัดทำวิจัยด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิภาคอาเซียน
กิจกรรม/โครงการ
1. โครงการวิจัยด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาอาเซียน
เป้าประสงค์ 4. สร้างความเข้มแข็งและเพิ่มมูลค่าของทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
กลยุทธ์ที่ 0102 บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมแห่งการเรียนรู้
ตัวชี้วัด 6. จำนวนผลิตภัณฑ์ชุมชนจากฐานวัฒนธรรม/ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการพัฒนา มาตรการ จัดกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์สืบสานเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นและของชาติ
กิจกรรม/โครงการ
1. นิทรรศการหมุนเวียนด้านศิลปะและวัฒนธรรม
2. สร้างความเข้มแข็งและเพิ่มมูลค่าของทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
3. โครงการทำบุญเมืองลพบุรี
4. โครงการศึกษาดูงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม
5. โครงการส่งเสริมศักยภาพด้านการดำเนินงานศิลปวัฒนธรรม
เป้าประสงค์ 4. สร้างความเข้มแข็งและเพิ่มมูลค่าของทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
กลยุทธ์ที่ 0102 บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมแห่งการเรียนรู้
ตัวชี้วัด 6. จำนวนผลิตภัณฑ์ชุมชนจากฐานวัฒนธรรม/ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการพัฒนา มาตรการ จัดโครงการเพื่อสร้างความร่วมมือในเครือข่ายศิลปะและวัฒนธรรมกับองค์กรภาคี ทั้งภาครัฐและเอกชน กลุ่มประเทศอาเซียน บุคลากรที่ สนใจ
กิจกรรม/โครงการ
1. โครงการสร้างเครือข่ายพัฒนาเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและประสานงานกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
2. โครงการส่งเสริมความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมไทย
เป้าประสงค์ 4. สร้างความเข้มแข็งและเพิ่มมูลค่าของทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
กลยุทธ์ที่ 0102 บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมแห่งการเรียนรู้
ตัวชี้วัด 5. จำนวนกิจกรรมที่ส่งเสริมรักษาและพัฒนาสิ่งแวดล้อม
7. จำนวนแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม/ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้มาตรการ จัดกิจกรรมในงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
กิจกรรม/โครงการ
1. โครงการอนุรักษ์สืบสานงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3. การยกระดับคุณภาพการศึกษา
เป้าประสงค์ 1. บัณฑิตมีคุณภาพตามอัตลักษณ์
กลยุทธ์ที่ 0302 พัฒนาสมรรถนะบัณฑิตตามความต้องการของตลาดแรงงาน
ตัวชี้วัด 5. ร้อยละของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการร่วมเรียนรู้หรือสร้างนวัตกรรมในท้องถิ่น
มาตรการ จัดทำรายงานการประเมินตนเอง
กิจกรรม/โครงการ
1. การพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
กลยุทธ์ที่ 0306 ส่งเสริมให้อาจารย์เรียนรู้และใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นเป็นฐานในการพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 5. ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษา มีสรรถนะเป็นที่พอใจของสถานประกอบการและผู้รับบริการ
มาตรการ เข้าร่วมอบรม ประชุม สัมมนา หน่วยงานของรัฐ/เอกชนทั้งภายในและภายนอก
กิจกรรม/โครงการ
1. โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการปฏิบัติงานสายสนับสนุน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4. การพัฒนาระบบบริหารจัดการ
เป้าประสงค์ 2. ทรัพยากรของมหาวิทยาลัยมีการบูรณาการการใช้งานร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
กลยุทธ์ที่ 04.06 ยกระดับการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาเพื่อท้องถิ่นชั้นนำ
ตัวชี้วัด 3. จำนวนหน่วยงานที่ใช้ทรัพยากรร่วมกัน
มาตรการ บริหารจัดการงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม
กิจกรรม/โครงการ
1. โครงการบริหารจัดการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
2. ค่าโทรศัพท์สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
3. ซ่องบำรุง ปรับปรุงครุภัณฑ์สำนักงานสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
4. เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
5. ครุภัณฑ์สำนักงานฯ