เบอร์โทรศัพท์
ศุกร์ 20 ธันวาคม 2567 119 โครงการปี 2567
เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ณ หมู่บ้าน OTOP VILLAGE LIFE ต.พุแค อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี อ.ณฤทธิ์ ประจงแต่ง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ร่วมพิธีเปิดโครงการตลาดพัฒนาสร้างสุข จังหวัดสระบุรี สำหรับโครงการนี้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะสั้น กระตุ้นให้เกิดความต้องการจับจ่ายซื้อสินค้าภายในชุมชนให้เกิดการหมุนเวียนเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจฐานราก ตลอดจนเพื่อสนับสนุนช่องทางการตลาดให้กับผู้ผลิต ผู้ประกอบการชุมชน OTOP ผู้ผลิตสินค้าชุมชน ชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี กลุ่มสัมมาชีพ และกลุ่มอาชีพสตรี และเพื่อให้ประชาชนสามารถซื้อสินค้าชุมชนในราคาที่เป็นธรรม สามารถลดค่าครองชีพของประชาชน รวมถึงได้รับการบริการจากภาครัฐเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมี คุณบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธานพิธีเปิด
สำหรับกิจกรรมภายในโครงการตลาดพัฒนาสร้างสุขฯ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้เข้าไปมีส่วนร่วม ได้แก่ การจัดกิจกรรมลานวัฒนธรรม 3 บุรี ซึ่งมีกิจกรรมประกอบด้วย การสาธิตการทำโคมแปดเหลี่ยม และการสาธิตการทำอาหารพื้นถิ่น ได้แก่ ไข่ป่าม และหมี่ไทยวน นอกจากนี้ได้ส่งชุดการแสดง จำนวน 2 ชุด ได้แก่ ฟ้อนผาง และฟ้อนประทีป ร่วมแสดงในพิธีเปิดด้วย
ขอคุณภาพข่าวและข่าวจากงานประชาสัมพันธ์
งานประเพณีวันสงกรานต์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ประจำปี พ.ศ. 2568 "ทำบุญกลางบ้าน สืบสานประเพณีสงกรานต์"
กิจกรรมเทิดทูนสถาบัน สร้างสรรค์วิถีไทย ร่วมใจเข้าวังฟังธรรม ครั้งที่ 1 เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และวันอนุรักษ์มรดกไทย
พิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ประจำปี พ.ศ. 2568
เครือข่ายศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย 68
การเสวนาวิชากรเรื่อง “วัดร้างใต้ดินที่ไม่มีคนรู้จัก”
การเสวนาวิชาการ หัวข้อเรื่อง “แต่งตัวอย่างไรให้ปัง เข้าวังพระนารายณ์”
งานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 23 “ยอยศสิปปศิลป์ นฤตยาพิพัฒน์ 12 ทศวรรษ ราชภัฏอยุธยา”
“การบูรณาการศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน วิจัย การบริการวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น”
พิธีเปิดงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 23 “ยอยศสิปปศิลป์ นฤตยาพิพัฒน์ สิบสองทศวรรษ ราชภัฏอยุธยา”
การบูรณาการศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน วิจัย การบริการวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น