โครงการ/กิจกรรม

เครือข่ายศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย 68

เครือข่ายศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย 68

พุธ 02 เมษายน 2568 5 โครงการปี 2568


มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี โดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ร่วมกับร่วมกับ เครือข่ายศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย จัดงานการประชุมวิชาการระดับชาติ และระดับนานาชาติครั้งที่ 15 ภายใต้หัวข้อ"ศรีวิชัย วิถีไทย วิถีถิ่น วิถีวัฒนธรรม นำภูมิปัญญาสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์" ระหว่างวันที่ 26-28 มีนาคม ๒๕๖๘ ณ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี

กิจกรรมในครั้งนี้จัดขึ้นจำนวน 3 วันระหว่างวันที่ 26-28 มีนาคม 2568 มีรูปแบบกิจกรรมคือมีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเครือข่ายด้านศิลปวัฒนธรรม ประจำปี 2568 ขบวนธงสัญลักษณ์เครือข่าย การเสวนา เรื่อง “ทุนวัฒนธรรมนําสู่การสร้างสรรค์” การแสดงนิทรรศการ “ของดีบ้านฉัน” และการสาธิตภูมิปัญญาด้านศิลปวัฒนธรรม กิจกรรมการนําเสนอบทความ จำนวน 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 : ด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การจัดการการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กลุ่มที่ 2 : ด้านภาษา วรรณกรรม ศิลปวัฒนธรรม ศิลปะการแสดง ปรัชญา ศาสนาและภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มที่ 3 : ด้านการพัฒนาท้องถิ่น สังคมวิทยา นวัตกรรม การศึกษา และเทคโนโลยี และ กลุ่มที่ 4 : งานวิจัยสร้างสรรค์ด้านศิลปวัฒนธรรม และการแลกเปลี่ยนการแสดงศิลปะและวัฒนธรรม

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีได้จัดนิทรรศการ เรื่อง การอนุรักษณ์หนังใหญ่ วัดสว่างอารมณ์ ต.ต้นโพธิ์ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี และ พัสตราภรณ์ทรงนารายณ์ ผ้าลายอย่างวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี เพื่อเผยแพร่ผลงานบริการวิชาการของหน่วยงานและได้นำนำนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีแลกเปลี่ยนการแสดงศิลปวัฒนธรรมในการแสดงชุดรำโทนลพบุรี เป็นการละเล่นพื้นบ้านชนิดหนึ่งในท้องถิ่นจังหวัดลพบุรี เพื่อเผยแพร่อัตลักษณ์จังหวัดลพบุรีส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในจังหวัดและเป็นพันธกิจหลักในการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

การจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1) เพื่อเป็นเวทีระดับชาติและนานาชาติในการนำเสนอผลงานทางวิชาการ บทความวิชาการ บทความวิจัย และผลงานสร้างสรรค์ด้านศิลปวัฒนธรรมของนักวิชาการทุกกลุ่ม

2) เพื่อเปิดโอกาสให้มีการพบปะแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการ ผลการวิจัย ผลงานสร้างสรรค์ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของชาติ และภูมิปัญญาของท้องถิ่นสู่การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์

3) เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือและความสัมพันธ์โดยมีการลงนามในบันทึกความร่วมมือ (MOU)

4) เพื่อส่งเสริมงานในมิติการพัฒนาศิลปวัฒนธรรม และ Soft Power ของไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมใหม่ๆ สู่งานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจและสังคม

ขอบคุณภาพบางส่วนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี


สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
โครงการ/กิจกรรม อื่นๆ